ความรู้เรื่องกลุ่มอาการออทิสติก
1. คำจำกัดความ
กลุ่มอาการออทิซึมหรือออทิสติก เป็นภาวะที่มีความเบี่ยงเบนในพัฒนาการ 3ด้านหลักคือ ด้านสังคม ด้านการสื่อสารทางภาษา และด้านพฤติกรรมและความสนใจเช่น แยกตัวอยู่ตามลำพังในโลกของตนเอง มีพฤติกรรมซ้ำๆ บางอย่าง เล่นของเล่นไม่เป็น ซนอยู่ไม่นิ่ง และทำร้ายจนเอง เป็นต้น อาการบางอย่างจะปรากฏให้เห็นได้ตั่งแต่ขวบปีแรก และจะสามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำพอสมควรในเด็กอายุ 2-3ปีขึ้นไป ออทิสติกเป็นความบกพร่องที่มองไม่เห็นจากภายนอกซึ่งต่างจากความพิการด้านอื่นๆ บุคคลออทิสติกอาจมีการหรือความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันได้มากตั่งแต่สติปัญญาต่ำกว่าปกติช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ไปจนถึงเรียนเก่งสามารถจบการศึกษาระดับปริญญาเอกได้ ในปัจจุบันนิยมใช้คำว่าออทิสติกสเปกตรัม ซึ่งหมายถึงภาวะออทิสติกที่มีอาการแตกต่างกันไปตั่งแต่น้อยไปจนถึงเป็นมาก
2. ประเภท
ออทิสติกสเปกตรัม
ออทิสติกสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorders: ASD) หรือ Pervasive Developmental Disorder (PPD) สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยๆ ได้ 5 ประเภท คือ
1.2.1 ออทิซึมหรืออทิสติก (Autism or Autistic Disorder)
1.2.2 แอสเพอร์เกอร์ซึมโดรม (Asperger syndrome)
1.2.3 Pervasive developmental disorder not otherwise specified (PDD-NOS)
1.2.4 Rett syndrome
1.2.5 Childhood Disintegrative Disorder (CDD)
1.21 ออทิซึมหรือออทิสติก (Autism or autistic Disorder)
จะมีความบกพร่องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ทางด้านสังคม ได้แก่ มีโลกของตนเองชอบเล่นคนเดียง ไมองสบตาหรือสบตาเพียงเล็กน้อย ไม่สนใจพฤติกรรมหรือความรู้สึกของผู้อื่น มีความบกพร่องในการใช้ภาษากาย (เช่น ไม่ชี้) และการแสดงออกทาง สีหน้า (มีสีหน้า เรียบเฉย หรือ แสดงออกทางสีหน้าไม่เหมาะสมกับสถานการณ์)มันสนใจสิ่งที่เป็นวัตถุกว่าบุคคล
ด้านการสื่อสารทางภาษา ได้แก่ มีพัฒนาการด้านภาษาที่ล่าช้า เช่น ไม่สามารถพูดเป็นคำที่มีความหมายได้เมื่ออาย 1 ปี บางคนอาจพูดได้แต่พูดโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่มีระดับเสียงสูงต่ำและไม่มีอารมณ์สอดแทรกในการพูด พูดตามคนอื่นซ้ำๆ (echolalia) หรือพูดเลียนแบบเหมือนนกแก้ว บางคนพูดเป็นภาษาของตนเองที่คนทั่วไปฟังไม่เข้าใจ และมักขาดทักษาในการพูดเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งของเล่นไม่เป็น ไม่เล่นเลียนแบบหรือเล่นสมมติตามจินตนาการ
ด้านพฤติกรรมซ้ำๆ หรือความสนใจที่จำกำ ได้แก่ มีพฤติกรรมแปลกๆ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ชอบทำอะไรซ้ำๆ ไม่รู้จักเบื่อ เช่น โบกมือไปมาตลอดเวลา เดิน เขย่งเท้า สะบัดมือ เดินหมุนเป็นวงกลม ชอบเล่นเปิดปิดไฟ ประตู หรือก๊อกน้ำซ้ำๆ บางคนมีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง โดยการโขกหัว เอามือตีผนัง เป็นต้น ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรอย่างไรก็ต้องทำอย่างน้ำเสมอ เช่น ต้องรับประทานอาหารชนิดเดิมเท่านั้น ชอบจัดวางสิ่งของในตำแหน่งเดิม หากมีใครไปขัดจังหวะไม่ให้ทำ จะทำให้เกิดความไม่พอใจและส่งเสียงกรีดร้อง เป็นต้น
1.2.2 แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger syndrome)
บุคคลแอสเพอร์เกอร์ จะมีความบกพร่องในทักษะด้านสังคม มีความสนใจซ้ำๆและจำกัดเช่นเดียวกับบุคคลออทิสติก แต่พัฒนาการด้านภาษาเป็นปกติ และไม่มีความบกพร่องในด้านสติปัญญา ในวัยเด็กมักจะวินิจฉัยได้ยากเนื่องจากอาจไม่มีความล่าช้าในพัฒนาการ ผู้ปกครองมักสังเกตเห็นความผิดปกติเมื่อเข้าโรงเรียนแล้ว เพราะมักมีปัญหาด้านสังคมเข้ากับเพื่อนได้ยากถูกแกล้ง หรือถูกมองเป็นตัวตลก ไม่ยืดหยุ่นใช้คำพูดเป็นผู้ใหญ่เกินตัว เด็กบางคนมีความสนใจหมกมุ่นเป็นพิเศษในบางเรื่องและเรียนรู้จดจำในเรื่องที่ตนสนใจได้ดี จนสามารถบรรยายในเรื่องนั้นได้ดีเหมือนเป็นศาสตราจารย์ตัวน้อย (little professor)
1.2.3 Pervasive developmental disorder – not otherwise speci-fied (PDD-NOS)
เป็นความผิดปกติในการสื่อสาร การเข้าสังคม และการสนใจเฉพาะบางสิ่งบางอย่าง อาจมีอาไม่ครบทั้งสามด้านมีความรุนแรงน้อยกว่าประเภทอื่นๆ
1.2.4 Rett syndrome (เร็ทท์ซินโดรม)
เป็นความผิดปกติที่พบได้น้อย ประมาณ 1 ใน 10,000 มักพบในเด็กผู้หญิงเด็กมักมีพัฒนาการปกติมาก่อนจนถึงอายุประมาณ 5 เดือน จะเริ่มมีพัฒนาการถดถอยการเจริญเติบโตของศีรษะช้าลงกว่าปกติ มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ สูญเสียความสามารถในการใช้มือและการสื่อสาร ส่วนใหญ่มีอาการชักร่วมด้วย ปัจจุบันพบว่าการกลายพันธุ์ของยีน MECP2 เป็นสาเหตุของ Rett syndrome ในผู้ป่วยส่วนใหญ่
1.2.5 Childhood Disintegrative Disorder
เป็นความผิดปกติที่พบได้น้อย เด็กมีพัฒนาการปกติมาก่อน แล้วเริ่มมีการสูญเสียทักษะด้าน เช่น ทักษะสังคม กล้ามเนื้อ ภาษา เป็นต้น โดยเริ่มมีอาการที่อาย 2-10 ปี
3.จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเป็นออทิสติก
อาการเริ่มแรกที่ผู้ปกครองสามารถสังเกตได้ในวัยต่างๆ มีดังนี้
ในวัยขวบปีแรก พฤติกรรมที่ความสงสัยว่าเด็กอาจเป็นออทิสติกได้แก่ ไม่ค่อยส่งเสียงโต้ตอบกับผู้เลี้ยงดู ไม่ค่อยยิ้มตอบ ไม่ใช้นิ้วมือในการชี้วัตถุ ไม่มองสบตาผู้อื่น หรือสบตาน้อย ไม่หันมามองเวลาเรียกชื่อ หรือต้องเรียกด้วยเสียงดังจึงจะหันไม่สนใจฟังเวลาพูดด้วย ไม่ชอบให้อุ้มหรือกอด ไม่กลัวคนปลกหน้า ไม่เลียนแบบท่าทางของผู้อื่น เช่น โบกมือให้ ส่งจูบ กลิ้งบอลให้ หรือ เล่นจ๊ะเอ๋ และไม่ยื่นมือมารับของเล่นเมื่อยื่นให้ เป็นต้น
ในวัยเด็กวัย 2-4 ปี พฤติกรรมที่ความสงสัยว่าเด็กอาจเป็นออทิสติก ได้แก่ การมีปัญหาด้านการพูดและการใช้ภาษาเช่น พูดช้า (เด็กอายุ 2 ปีความพูดได้ 2 คำ ติดกัน เช่น หนูหิว) ไม่สามารถสื่อความหมาย สนทนาโต้ตอบหรือบอกสิ่งที่ต้องการได้ และถึงแม้จะได้รับการช่วยเหลือจนสามารถพูดได้แล้ว ก็มีการพูดทวน (echolalia) คำที่บุคคลอื่นพูด พูดภาษาตนเองที่คนอื่นฟังไม่เข้าใจ เมื่อเรียกชื่อบางครั้งจะหันมามอง บางครั้งจะไม่หันขึ้นอยู่กับว่าตนสนใจอะไรเท่านั้น หากต้องการอะไรจะแสดงพฤติกรรมอื่นๆ แทนการพูด เช่น การจูงแม่ไปเอาของ ใช้การร้องอาละวาด ร้องไห้เป็นต้น ชอบเล่นคนเดียง เล่นของเล่นไม่เป็น เช่น เมื่อได้ของเล่นมา จะเล่นโดยการ อม ดม เคาะ หรือแกะชื้นส่วนต่างๆ และไม่มีการเล่นสมมติตามจินตนาการ (เช่น เล่นขายของ หรือ เล่นตุ๊กตา) ปรับตัวยากต่อสิ่งใหญ่ เช่น ไม่ชอบลองอาหารชนิดใหม่ๆ หรือร้องไห้เมื่อไปในสถานการณ์หรือสถานที่ไม่คุ้นเคย เฉยเมยไม่ค่อยแสดงอารมณ์ ชอบ ทำอะไรซ้ำ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะหงุดหงิดหรืออาละวาด ไม่เอาของมาอวดหรือมาโชว์ ไม่สามารถเล่นกับเด็กในวัยเดียววันได้ ชอบอยู่ใกล้ผู้ใหญ่เพราะผู้ใหญ่รู้ใจของเขาและสามารถตอบสนองความต้องการของเขาได้
ในเด็กโต ถ้าหากสื่อสารได้ดีก็จะมีการใช้ภาษาพูดไม่ถูกกาลเทศะ ไม่เข้าใจ คำขำขันและคำอุปมาอุปมัย เก็บตัว มีเพื่อนน้อย หรือไม่มีเพื่อนสนิท ไม่ค่อยเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ทำอะไรซ้ำ ไม่ค่อยรู้จักการเทศะ ทำอะไรไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปรับตัวยาก อาจถูกเพื่อนล้อหรือแกล้งบ่อย เหมือนเป็นตัวประหลาด
อาการอื่น ที่พบร่วม ได้แก่ ภาวะสติปัญญาบกพร่อง อารมณ์ รุนแรงและเปลี่ยนแปลงง่าย มีปฏิกิริยาไวมากต่อเสียง การสัมผัส แสงหรือกลิ่น พฤติกรรมซนสมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าวและทำร้ายตนเอง เป็นต้น
ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองเห็นเด็กมีพฤติกรรมที่ต่างตากเด็กทั่วไปหรือสงสัยว่าอาจจะเป็นออทิสติก อย่าคิดว่าไม่เป็นไร หรือ เดียงคงหายเอง เช่น เมื่ออายุ 2 ปียังไม่พูดหรือพูดได้น้อยก็คิดว่าเด็กปากหนักอีกหน่อยก็พูดได้เอง หรือเด็กไม่เข้ากลุ่มเล่นกับเพื่อนก็คิดว่าเป็นเพราะเป็นลูกคนเดียวไม่มีเด็กอื่นๆ ให้เล่นด้วย เพราะจะทำให้เสียโอกาสในการรักษา การรักษาภาวะออทิสติกยิ่งรักษาเร็ว (โดยเฉพาะก่อน 3 ปี) ยิ่งได้ผลดี ดังนั้นควรไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด แม้ว่าอาการที่กล่าวมาข้างต้นสามารถพบในเด็กปกติได้ แต่ก็มักเป็นไม่นานและเป็นเพียงไม่กี่ข้อและถ้าไปพบแพทย์แล้วพบว่าไม่เป็นออทิสติกผู้ปกครองก็จะได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูกระตุ้นพัฒนาการซึ่งไม่มีผลเสียแต่อย่าง
4. การวินิจฉัยทางการแพทย์
สมาคมจิตแพทย์อเมริกากำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะออทิสติก โดยสรุปดังต่อไปนี้
1.ต้องมีอาการในกลุ่ม A,B และ C รวมกันอย่างน้อย 6 ข้อ
A. มีความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อย่างน้อย 2 ข้อ ต่อไปนี้
1) มีความบกพร่องในการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด เช่น ไม่สบตา ไม่แสดงออกทางสีท่าทาง
2) ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนได้
3) ไม่มีความสนุกสนานหรือความสนใจร่วมกับผู้อื่น เช่น ไม่ชี้สิ่งที่ตนสนใจหรือไม่หยิบของสิ่งนั้นมาให้คนอื่นดู
4) ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองผู้อื่นอย่างเหมาะสม
B. มีความบกพร่องทางการสื่อสาร อย่างน้อย 1 ข้อต่อไปนี้
1) พูดช้า หรือไม่พูดเลย
2) ถ้าพูดได้แล้วก็มีความบกพร่องในการเริ่มต้นหรือสานต่อบท สนทนา
3) มีการใช้คำพูดซ้ำๆ หรือใช้ภาษาแปลกๆ
4) ขาดการตอบสนองในการเล่น ไม่เล่นสมมติหรือเล่น เลียนแบบตามสมควรแก่พัฒนาการ
C. มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัดซ้ำๆ อย่างน้อย1ข้อต่อไปนี้
1) มีความสนในบางสิ่งบางอย่างซ้ำๆ มากเกินปกติ
2) ยึดติดกับแบบแผนเดิมในกิจวันประจำวัน โดยไม่มีการยืดหยุ่น
3) มีการเคลื่อนไหวเป็นแบบแผนซ้ำๆ ผิดปกติ เช่น การสะบัดมือ การโบกมือไปมา โยกตัว เดินเขย่งเท้า
4) สนใจจดจ่อเฉพาะบางส่วนของสิ่งของหรือวัตถุ
2. อาการดังกล่าวปรากฏก่อนอายุ 3 ปี
3. ความผิดปกติดังกล่าวข้างต้นต้องไม่เข้ากับกลุ่มอาการ Rett หรือ Childhood disintegrative disorder
สมาคมจิตแพทย์อเมริกากำหนดเกณฑ์ดารวินิจฉัยภาวะแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger syndrome) โดยสรุปดังต่อไปนี้
- มีลักษณะบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อย่างน้อย2 ข้อต่อไปนี้
1) มีความบกพร่องในการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด เช่น ไม่สบตา ไม่แสดงออก ทางสีหน้า ท่าทาง
2) ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนได้
3) ไม่มีความสนุกสนานหรือความสนใจร่วมกับผู้อื่น เช่น ไม่ชี้สิ่งที่ตนสนใจหรือไม่หยิบของสิ่งนั้นมาให้คนอื่นดู
4) ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองผู้อื่นอย่างเหมาะ
- มีข้อจำกัดในการทำตามแบบด้านพฤติกรรม ความสนใจหรือกิจกรรมต่างๆอย่างร้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
1) มีความสนใจในบางสิ่งบางอย่างซ้ำๆ มากเกินปกติ
2) ยึดติดกับแบบแผนเดิมในกิจวัตรประจำวันโดยไม่มีการยืดหยุ่น
3) มีการเคลื่อนไหวเป็นแบบแผนซ้ำๆ ผิดปกติ เช่น การสะบัดมือ การโบกมือไปมา
4) สนใจจดจ่อเฉพาะบางส่วนของสิ่งของหรือวัตถุ
- ความผิดปกติดังกล่าวมีผลต่อการเข้าสังคม การประกอบอาชีพหรือการทำงาน
- ไม่มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า ได้แก่ สามารถพูดคำเดี่ยวๆ ได้ก่อนอายุ 2 ปี พูดเป็นวลีเพื่อการสื่อสารได้ก่อนอายุ 3 ปี
- ไม่พบความบกพร่องอย่างชัดเจนในพัฒนาการต่อไปนี้ ได้แก่ พัฒนาการด้านสติปัญญา ทักษะการช่วยเหลือตนเอง การปรับตัว (ยกเว้นการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่บกพร่อง)
- เกณฑ์การวินิจฉัยไม่เข้ากับกลุ่มอาการออทิสติกอื่นๆ หรือโรคจิตเภท(schizophrenia)
การรักษา
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า การดูแลรักษาและฝึกกระตุ้นพัฒนาการตั่งแต่เริ่มแรกสามารถช่วยเหลือให้บุคคลออทิสติกมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ บางคนสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป ไม่เป็นภารแก่ครอบครัว รวมถึงทีศักยภาพในการทำงานและประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งการดูแลรักษาที่ได้ผลดีนั่นต้องด้วยความร่วมมืออย่างสหวิชาชีพ ทั้งจากแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา ครูการศึกษาพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด นักอรรถบำบัด รวมไปถึงนักสังคมสงเคราะห์ โดยมีพ่อแม่/ผู้ปกครองและครอบรัวเป็นแกนหลักสำคัญ
การรักษาหลักที่ใช้ในการดูแลบุคคลออทิสติกได้แก่ กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด การศึกษาพิเศษ การฝึกอาชัพ การฝึกทักษะสังคม หรือการรักษาทางยา เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นที่เป็นการรักษาทางเลือกที่อาจใช้ร่วมกับการรักษาหลัก เช่น ดนตรีบำบัด การบำบัดสัตว์ (เช่น อาชาบำบัด) การรักษาด้วยการใช้ออกซิเจน ความดันสูง (hyperbaric oxygen therapy)
6. สินค้าของเราที่เกี่ยวข้อง
สินค้าทางกิจกรรมบำบัดเด็ก
- Balance board
- Balance beam
- ถุงทราย (Weight Cuff 0.5 – 3.0 kg)
- อ่างบอล
- ถังเบียร์
- Putty ดินน้ำมันยางยืดสังเคราะห์
- Ball rebound
- ถุงถั่ว (BEAN BAG)
- เข็มขัดพยุงตัวเล็ก (เด็ก)